ประวัติผู้เขียน - คำนำ - ความนำ หน้า ๓ - ๒๒
-----------------------------------------------------
โดย.. ดร.สมบัติ จันทรวงศ์
พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 10,000 เล่ม, ก.ค.2531
พิมพ์ที่ .. โรงพิมพ์มูลนิธิธรรมสันติ 67/1 ซ.ประสาทสิน
ถ.สุขาภิบาล 1 บางกะปิ กทม. 10240 โทร.02-374-5230 นางกิติยา วีระพันธุ์ ผู้พิมพ์โฆษณา
หน้าที่ ๓
ประวัติผู้เขียน
ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Claremont Mc Kenna College และระดับปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์จาก Claremont Graduate School
ปัจจุบัน(ณ ปี พ.ศ.2531) เป็นรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงานในอดีตมี เช่น ยูโทเปีย(แปลและเขียนคำนำ), ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่(บรรณาธิการ), ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น, ความคิดทางการเมืองและสังคมไทย(ผู้เขียนร่วม), แสตมป์กับสังคม, มหาชนรัฐและประชาธิปไตย, โลกทัศน์ของสุนทรภู่, การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(2528) และ การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง(2529)
หน้าที่ ๕
คำนำ
รายงานการศึกษาเรื่อง ชุมชนปฐมอโศก : การศึกษาพุทธยูโทเปีย(1) นี้ ควรถือเป็นเพียงรายงานเบื้องต้น เพราะเป็นเพียงส่วนแรก ๆ ของการศึกษาทั้งหมด ซึ่งตั้งเป้าไว้ถึง 3 ช่วง ๆ ละประมาณ 12 เดือน
ข้อสรุปใด ๆ ที่ปรากฏในรายงานนี้ แต่ละช่วง จึงยังมีโอกาสที่จะปรับปรุงได้ เมื่อการศึกษา ได้กระทำครบถ้วนตามโครงการ
คือเมื่อผู้ศึกษาได้มีโอกาสพิจารณาวิวัฒนาการของสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่นี้ จากแง่มุมที่กว้างกว่าเดิม
ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ พระโพธิรักษ์ และสมาชิกชาวอโศกทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาเรื่องนี้เป็นอย่างดียิ่ง
และขอขอบคุณ นายวิกิจ สุขสำราญ ผู้ช่วยผู้วิจัย ซึ่งได้ร่วมมือร่วมใจในการศึกษาครั้งนี้มาโดยตลอดตั้งแต่ต้น
สมบัติ จันทรวงศ์ ภาควิชารัฐศาสตร์ศึกษา
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-------------------------------------------------
หน้าที่ ๗
รายงานการศึกษา เรื่อง
โครงการชุมชนปฐมอโศก
การศึกษา
พุทธยูโทเปีย(1)
เสนอต่อ ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิงหาคม 2529
โดย ดร.สมบัติ จันทรวงศ์
-------------------------------------------------
หน้าที่ ๘
ความนำ
โดยทั่วไปแล้ว เป็นที่ยอมรับกันว่า มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมหรือสัตว์การเมือง ซึ่งมักจะหมายถึงว่า มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่า แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก เราจะพบว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีโอกาสที่จะ "เลือก" สังคมที่ตนต้องการใช้ชีวิตอยู่เลย ในทางตรงกันข้าม คนเรามักเป็นสมาชิกของสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือระบบทางสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยกำเนิด
มีปัจเจกชนน้อยรายนัก ที่จะมีโอกาสแม้แต่จะเลือกวิถีชีวิตของตนเองโดยลำพัง ให้แปลกแยกออกไปอย่างแท้จริง จากวิถีชีวิตผู้คนส่วนใหญในสังคมเดิม
อย่างไรก็ตาม นี่มิได้หมายความว่า มนุษย์ไม่ได้พยายามที่จะสร้างสรรค์สังคมของกลุ่มของตนเองโดยเฉพาะขึ้น เป็นสังคมที่สอง
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เต็มไปด้วยเรื่องราวของความพยายามเหล่านี้ แม้แต่กระทั่งในปัจจุบัน
โดยปกติแล้ว ลักษณะเด่นของ "สังคมที่เกิดขึ้นโดยเจตนา"นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสังคมแรกเกิดของมนุษย์แล้ว ได้แก่การที่สมาชิกของสังคมดังกล่าว มีอะไรบางอย่าง ซึ่งยึดถือเป็นของร่วมกันได้ นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือความสัมพันธ์ทางกฏหมายอย่างธรรมดา ๆ เช่นการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่างหรือทุกอย่างร่วมกัน เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว สังคมที่เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของมนุษย์ก็ยังอาจจะเป็นสังคมที่ได้มีการกำหนดเป้าหมาย ตลอดจนวิธีการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว ไว้ล่วงหน้า หรืออาจเป็นสังคมที่มีลักษณะเหมือนกับการทดลอง คือ มิได้มีการกำหนดวิธีการไว้แน่นอนตายตัว หากเป็นสังคมที่อาจมีการปรับเหลี่ยนเป้าหมาย และวิธีการไปได้เรื่อย ๆ (1)
แต่ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด ความพยายามที่จะสร้างสังคมโดยเจตนาของมนุษย์ ย่อมหมายถึงการถอนตัว หรือการแยกตนเองออกจากโครงสร้างของสังคมเดิมในระดับหนึ่ง และกระบวนการเช่นว่านี้ ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการสูญเสียผลประโยชน์หรือสิทธิบางประการ ที่มีอยู่ในสังคมเดิม
จริงอยู่ ผู้ที่เข้าร่วมในกระบวนการ สร้างสังคมโดยเจตนาขึ้นนั้น มักจะมีแรงจูงใจมาจากความไม่พอใจสภาพและความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบัน
แต่กระนั้นก็ดี การผละจากสังคมเดิมไปสร้างสังคมใหม่ ก็มักจะเต็มไปด้วยอุปสรรค ปัญหาและภยันตรายนานาประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่มองจากสายตาของผู้อยู่ในสังคมเดิมแล้วการกระทำดังกล่าว เป็นการแยกไปสู่สังคมที่ใหม่และแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเลิง อย่างน้อยที่สุด ความไม่พึงพอใจและความเป็นปฏิปักษ์กัน มักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเนือง ๆ ระหว่างผู้ยึดมั่นในสังคมแบบเดิม กับผู้ที่พยายามสร้างสังคมโดยเจตนาของตน ขึ้นซ้อนกัน
ผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการสร้างสังคมโดยเจตนาขึ้น นอกเหนือ หรือต่างหากจากสังคมที่มีอยู่ จึงมักจะต้องเป็นผู้ที่มีแรงจูงใจสูงมาก และก็คงจะเป็นด้วยเหตุนี้เองกระมัง ที่เรามักจะพบว่า มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นอยู่ระหว่างชีวิตของสังคมดังกล่าว กับความศรัทธาในศาสนา
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประวัติศาสตร์การแสวงหาสังคมในอุดมคติของมนุษย์นั้น สามารถนับย้อนหลับกลับไปได้เป็นพัน ๆ ปีทั้งนี้ก็เพราะ ไม่ว่ายุคใดสมัยใด มนุษย์ย่อมมีโอกาสที่จะไม่พึงพอใจกับชีวิตในสังคมของตนได้ทั้งนั้น
ในโลกตะวันตก นับตั้งแต่สมัยของพระเยซูคริสต์เป็นต้นมา ตัวอย่างของชุมชนที่สมาชิกใช้ชีวิตร่วมกัน ในลักษณะที่เป็นสังคมโดยเจตนา หรือสังคมทดลองนั้น มีอยู่มากมาย
อันที่จริงแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า อารามของนักบวชและนางชีในสมัยโบราณนั้น ก็คือ ลักษณะหนึ่งของชุมชนเช่นว่า2
ลักษณะเด่นของชุมชน ที่เน้นความเป็นอิสระในการผลิตและการบริโภคร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่เห็นได้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม จนกระทั่งถึงสมัยกลาง แต่การสร้างสรรค์สังคมโดยเจตนาของมนุษย์ ก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแรงจูงใจที่มาจากทางศาสนาเท่านั้น
ในศตวรรษที่ 19 เมื่อผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้ทำให้เกิดความเจริญเติบโตของนคร การพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ การใช้แรงงานเด็ก การว่างงานของผู้ใหญ่ และความยากจนแก่ผู้คนเป็นจำนวนมากนั้น การสร้างสรรค์สังคมโดยเจตนา หรือสังคมทดลองของมนุษย์ เพื่อเอาชนะภาวะอันเกิดจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจอันรุนแรงดังกล่าว ก็ได้เกิดขึ้นตามมาด้วย
โดยสรุปแล้ว ชุมชนเช่นว่านี้ มักจะกำหนดให้มีที่ดิน และที่อยู่อาศัยเป็นของกลางของสมาชิกทุกคน การเป็นเจ้าของปัจจัยขั้นมูลฐานในการดำรงชีวิต ตลอดจนการรับประทานอาหารร่วมกัน การให้การรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า โดยการเน้นการสาธารณสุขแนวป้องกัน การให้สิทธิ์เท่าเทียมกันแก่สตรี การแต่งกายแบบเรียบง่าย การผลิตและจำหน่ายสินค้าในรูปของสหกรณ์ การใช้แรงงานร่วมกัน และอย่างเท่าเทียมกัน การดูแลรักษาเด็กอ่อน และระบบการศึกษาที่ก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงจริยธรรมในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งอาจจะปรากฏออกมาในรูปของการปล่อยอิสระหรือ การจำกัดอย่างเข้มงวดกว่าเดิมก็ได้3
อย่างไรก็ดี ในโลกตะวันตกยุคปัจจุบัน ได้เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่ออกไปยิ่งขึ้น นั่นคือ การที่ผู้คนจำนวนมาก ได้ถอนตัวออกจากสภาพความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างจะหรูหรามั่นคง และฟุ่มเฟือย เพื่อมาสร้างสังคมใหม่ที่มีความไม่แน่นอน ความยากลำบากและความแร้นแค้นแทน
อะไรคือสาเหตุของปรากฏการณ์ที่ว่านี้?
คำตอบส่วนหนึ่ง น่าจะอยู่ที่ความล้มเหลวของการสนองตอบ ต่อความต้องการทางจิตใจของมนุษย์ จากสังคมปัจจุบัน
กล่าวคือ สถาบันหลักต่าง ๆ ในสังคม ในรูปอย่างที่เป็นอยู่นี้ ไม่สามารถทำให้ผู้คนที่มีชีวิตทางวัตคถุอย่างอุดมสมบูรณ์ รู้สึกพึงพอใจในทางจิตใจได้
สังคมที่มั่งคั่ง เช่นในสหรัฐอเมริกา แม้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกโดยเฉลี่ย มีโอกาสสะสมข้าวของ เป็นการส่วนตัวอย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันผู้คนเหล่านี้ กลับรู้สึกเหงาเปล่าเปลี่ยวและเดียวดาย ท่ามกลางชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างแดอัด พวกเขาเหล่านี้พยายามจะ"หนี"จากแรงบีบคั้น และความกดดันของชีวิตภายในสังคมสมัยใหม่
ส่งที่พวกเขาแสวงหา คือสิ่งที่จะให้คำตอบ ไม่เฉพาะแต่ในแง่ของความต้องการทาง"สังคม" หากหมายถึงความต้องการทาง"จิตใจ"ของแต่ละคนอีกด้วย
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนเหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะเป็นการฝักใฝ่ทางการเมือง แบบประสงค์ต่ออำนาจทางการเมือง หากพยายามหลีกจากการเมือง และพยายามสร้างวิถึชีวิตทางสังคมของตนขึ้นใหม่ ร่วมกับคนอื่น ๆ ที่มีความคิดความอ่านอย่างเดียวกัน
แบบแผนของชุมชนที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ มีอยู่มากมาย และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นการไม่ง่ายเลย ที่จะแบ่งจำพวกของชุมชนออกมา
เช่น บางชุมชนยึดหลักการทางศาสนาเป็นหลักในการดำรงชีวิต บ้างก็ยึดตามอุดมการณ์ทางโลก บ้างก็รวมตัวกันเพื่อให้บริการแก่สังคม และบ้างก็เป็นชุมชนของคนเฉพาะรุ่นเฉพาะวัย4
แต่ในบรรดาชุมชนแบบนี้ ที่มีอายุยืนยาวที่สุดก็คือ ชุมชนที่มีเหตุผลทางศาสนาเป็นแรงผลักดัน
อันที่จริงแล้ว การที่สังคมโดยเจตนาที่ถือกำเนิดมาจากความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมักจะเป็นสังคมเกษตรกรรมและสังคมชนบทจะมีอายุยืนยาวกว่าสังคมโดยเจตนา ที่ถือกำเนิดมาจากเหตุผลอื่น ๆ นั้น เป็นเรื่องที่อธิบายได้ไม่ยากนัก
เรื่องราวของชุมชนโดยเจตนา ในระยะแรกเริ่มสุด มักเต็มได้ด้วยเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ที่ต้องใช้วิธีการสร้างสังคมของตนเองขึ้น เพื่อรักษาความหลอดภัยและความเป็นอยู่รอดของตนเอง ให้พ้นจากการคุกคามของคนส่วนใหญ่ ที่ถือศาสนาต่างกันออกไป
และในขณะที่สังคมโดยเจตนา ที่ถือกำเนิดมาโดย เหตุผลอื่น ๆ มักจะไม่สามารถต้านทานแรงกดดันจากสังคมเดิมได้ดีพอ เช่นสมาชิกมักจะไม่มีศรัทธาแรงกล้าพอ ที่จะต้านทานกับความรู้สึกโดดเดี่ยว การถูกตัดขาดจากกระแสของสังคมใหญ่ได้
สมาชิกของชุมชนที่มีแรงผลักดันทางศาสนา ก็มักจะกระทำได้ดีกว่า แม้แต่ในสังคมไทย คำว่า "โลกพระศรีอาริย์" ซึ่งดูเหมือนว่าจะใช้แทนคำว่า "สังคมยูโทเปีย" หรือสังคมในอุดมคติแยกออกไปจากสังคมปัจจุบัน ได้ดีที่สุด ก็เป็นคำที่มีที่มาจากเรื่องราวทางศาสนาเหมือนกัน
โดยทั่วไปแล้ว สำหรับแนวคิดเรื่องพระศรีอาริย์นั้น เราอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เป็นความเชื่อในวงการพุทธศาสนา ที่เล่าอ้างสืบต่อกันมาว่า เป็นพุทธวจนะ
มีความว่า เมื่อพุทธศาสนามีอายุยืนยาวครบ 5,000 ปีแล้วก็จะสิ้นไป หลังจากนั้นก็จะเป็นยุคสมัยอีกยุคสมัยหนึ่งต่างหากของพระศรีอาริย์ ยุคนี้เป็นยุคที่สังคมมนุษยโลก ได้ดำเนินผ่านช่วงที่มนุษย์ฆ่าฟันกันง่าย ๆ อย่างผักปลา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ยุคมิคสัญญีอันตกต่ำถึงที่สุดแล้วนั้น เข้าสู่ยุคที่สังคมมนุษย์โลกจะอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็ฯสุข ผู้คนในสมัยนั้นจะมีศีลมีธรรมสูง อันเป็นเงื่อนไขให้ไม่เกิดมีการเบียดเบียนกดขี่ข่มเหง ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ปราศจากโจรผู้ร้ายที่จะประทุษร้ายต่อร่างกายชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนก็มิได้ละโมบโลภในสมบัติทางโลกเหมือนอย่างที่แล้ว ๆ มา หากแต่จะมักน้อยสันโดษ และจะปรารถนาเฉพาะอาหารและน้ำดื่มสำหรับในยามหิวและยามกระหายเท่านั้น นอกจากนี้ตัวมนุษย์เองก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้คนมีชีวิตที่ดีที่สมใจกันทั่วหน้า
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า แท้ที่จริงแล้ว พุทธศาสนาฝ่ายเถวรวาทอย่างที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้น ย้ำเน้นคติ"อรหันต์"อันเป็นเรื่องของการพัฒนาตนเอง ไปสู่การมีชีวิตที่ดี และความเป็นบุคคลประเสริฐ ซึ่งทำให้ความคิดความเข้าใจเรื่อง"ผู้มาโปรด" แทบจะไม่มีความหมายสำคัญอะไรเลยต่อการพัฒนาดังกล่าว ตนเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของตนเอง การแก้ปัญหาของมนุษย์ต้องเริ่มที่ตนเอง และจะต้องบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้ที่ตนเอง
ลักษณะเช่นว่านี้ จึงแทบจะไม่เปิดช่องให้กับความคิดใฝ่ฝันเรื่อง"พระศรีอาริยเมตไตรย์" หรือพระผู้มาโปรดเลย
พุทธศาสนาฝ่ายมหายานต่างหาก ที่มีคติเรื่อง"พระโพธิสัตว์"อย่างเด่นชัด และพระศรีอาริยเมตไตรย์ ก็คือ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งของทางฝ่ายมหายาน ที่จะมาโปรดมวลมนุษย์จำนวนมาก ๆ นั่นเอง
กระนั้นก็ดี ก็ปรากฏว่า คติเรื่องพระมาลัย ซึ่งโยงถึงเรื่องการมาของพระศรีอาริย์ กลับเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายอยู่ในแทบจะทุกภาคของประเทศไทย โดยมีการเล่าลือสืบต่อกันมาว่า พระมาลัยเถระได้ขึ้นไปเฝ้าพระโพธสัตว์ศรีอารยเมตไตรย์ ที่พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพระศรีอารยเมตไตรย์ได้ตรัสไว้กับพระมาลัยเถระว่า พระองค์จะจุติมาโปรดมนุษย์และสัตว์ในอนาคตกาล ภายหลังจากที่พุทธศาสนาสิ้นสูญไปแล้ว
เรื่องของพระมาลัยจึงเป็นคติที่เข้ามามีส่วนเชื่อมผสาน ส่วนขาดส่วนเกิน ของฝ่ายเถรวาท และมหายาน ดังกล่าวมาแล้วนี้
ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏมีเรื่องของพระมาลับ ในพระสูตรดั้งเดิมของพระพุทธสาสนาแต่อย่างใด
ในประวัติศาสตร์ไทย ก็มีกรณีอยู่เหมือนกัน ที่ผู้นำท้องถิ่นหรือผู้ใต้ปกครอง ได้อาศัยแนวความคิดของคติเหล่านี้ เป็นข้ออ้างควบคู่กันไป กับปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ และปลุกระดมความกล้าหาญ ในการรวบรวมพลังพล เข้าต่อต้านอำนาจรัฐส่วนกลาง แต่ขบวนการดังกล่าวก็มักอ้างเหตุอำเพศ มาล้มล้างความชอบธรรมของฝ่ายปกครอง โดยที่ไม่ปรากฏเลยว่า ได้มีการวางแผนการอะไรที่ชัดเจน เกี่ยวกับรูปแบบของสังคมในอุดมคติ ที่จะเกิดขึ้นใหม่ในวันข้างหน้าเลย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้นำท้องถิ่นพวกนี้มักฝากความหวังในผลสำเร็จไว้กับอำนาจเร้นลับ
ในเรื่องนี้ จึงอาจเป็นไปได้ว่า ผู้คนทั่วไปอาจจะไม่เคยคิดเลยว่า ความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจการควบคุมของมนุษย์ได้
ส่วนตัวผู้นำนั้น แม้อาจจะคิดในทางตรงกันข้ามกับคนทั่วไปว่า เรื่องเหล่านี้ อยู่ในอำนาจการควบคุมของมนุษย์ได้ (ถ้าสามารถควบคุมมนุษย์ในสังคมได้) แต่ก็คงจะตระหนักดีว่า การควบคุมมนุษย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปได้ง่ายดาย จึงแบ่งความรับผิดชอบในผลสำเร็จส่วนหนึ่งไว้กับการหวังวิงวอน ตามความเข้าใจของชาวบ้านทั่วไป
ตัวอย่างของขบวนการทำนองดังกล่าวมานี้ ในประวัติศาสตร์ไทยได้แก่ กบฏญาณพิเชียร์ (พ.ศ.2124) กบฏธรรมเถียร (พ.ศ.2237) กบฏบุญกว้าง (พ.ศ.2241) กบฏผู้มีบุญหนองหมากแก้ว(พ.ศ.2467)ซึ่งล้วนแต่เป็นขบวนการที่ถูกฝ่ายปกครองส่วนกลางประนามว่า"กบฏ"ทั้งสิ้น
สาเหตุส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะว่า การพยายามสร้าง หรือแม้แต่การคิดถึง "สังคมที่ดีกว่า"ย่อมหมายถึงความไม่พึงพอใจต่อผู้ปกครอง ระบบเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของตนอย่างที่เป็นอยู่ และถ้ายิ่งขบวนการนั้น ๆ อิงอาศัยคติ เรื่องพระศรีอาริยเมตไตรย์อยู่ด้วยแล้ว ก็อาจหมายความ รวมไปถึงความไม่พอใจต่อวิถีของพุทธศาสนา อย่างที่เป็นอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าฝ่ายผู้ปกครองอาจจะอ้างพุทธทำนายได้เช่นกันด้วยว่า ยังไม่ถึงเวลาครอบ 5,000 ปี ที่จะถึงยุคการเปลี่ยนแปลง และสภาพความเป็นไปในสังคม ก็ยังมิได้เลวร้ายถึงขนาด ตามที่ได้มีพุทธทำนายไว้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบันนี้ ตราบเท่าที่ฝ่ายปกครองของศาสนจักร และอำนาจทางการเมืองแอบอิงกันอยู่ ก็ยังอาจเป็นไปได้เสมอว่า ความพยายามที่จะสร้างสรรค์สังคมพุทธยูโทเปียใด ๆ ขึ้น ก็อาจถูกมองว่า แฝงนัยแห่งการไม่เห็นด้วยกับระบบเศรษฐกิจสังคม และแนวคิดในทางศาสนาโดยทั่ว ๆ ไปของชนส่วนใหญ่ของสังคม อยู่นั่นเอง
ทั้งนี้ไม่ว่าความพยายามดังกล่าว จะมีรากฐานอยู่บนคำสอนที่แท้ของศาสนา และอาจจะไม่ใช่ภัยที่แท้จริงหรือจริง ๆ แล้วอาจเป็นคุณอนันต์ก็ตาม
นั่นคือ ขบวนการดังกล่าว ย่อมจะมีโอกาสถูกพิจารณาได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อตัวสถาบันศาสนา อันมีฐานะถูกต้องตามกฏหมายบ้านเมือง และต่อประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะติดตามดูว่า อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากสังคมยูโทเปียเช่นว่า ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนลอย ๆ อย่างขบวนการ "กบฏ"ทั้งหลายในอดีต แต่จะพัฒนาขึ้นหลังจากที่ได้มีการแตกแยก หรือเกิดมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน ของสำนักทางความคิด และการปฏิบัติธรรมในวงการศาสนา
สำหรับสังคมไทยปัจจุบัน สิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้เลย ก็คือความจริงที่ว่า วงการพุทธศาสนาตกอยู่ในสภาพระส่ำระสายปั่นป่วนไม่น้อย สิ่งที่สะท้อนให้เห็นลักษณะดังกล่าวอยู่อย่างชัดแจ้งก็คือ สภาพการนับถือศาสนาของผู้ที่อ้างตนเป็นพุทธศาสนิกชนหรือพุทธบริษัท ที่ดูเหมือนว่า ยิ่งวันก็มีแต่จะห่างไกลจากพุทธธรรมยิ่งขึ้น
ข่าวคราวต่าง ๆ ที่ปรากฏในสื่อมวลชนล้วนสะท้อนถึงภาว่าเช่นว่า ที่เสื่อมทราม จนแม้กระทั่งการมีศรัทธาในสิ่งที่เคยถือกันว่า เป็นสิ่งต่ำช้า ตามทัศนะของพุทธธรรม จนแทบจะบอกไม่ได้แล้วว่า แท้ที่จริงนั้น คนที่นับได้ว่า เป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้นั้นควรมีศรัทธาไปในลักษณะใดกันแน่ ?
สภาพการณ์ดังกล่าวเหล่านี้เอง ที่เป็นช่องทางก่อให้เกิดมี"สำนัก"ต่าง ๆ มากมาย ที่ตั้งกันขึ้นมาแอบอิงแอบอ้าง"พุทธศาสนา"บังหน้า เพื่อเรียกศรัทธาของบุคคลในสังคม ในแง่มุมและระดับต่าง ๆ กัน
นับตั้งแต่สำนักที่แทบจะไม่มีอะไรเลย ที่พอจะถือได้ว่า เป็น"ธาตุแท้"ของพุทธศาสนา ไปจนกระทั่ง สำนักที่มีลักษณะ"พุทธ"เอามาก ๆ และแต่ละสำนักก็มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธามากบ้างน้อยบ้างผิดกันไป ทั้งนี้ก็ตามแต่สำนักใด จะสอดคล้องต้องตามอุปาทานของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม ได้มากน้อยเพียงใด บางแห่งก็มีผู้คนสนใจ ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก และก็ถือเอาปริมาณมาก ๆ นี้ เป็นส่งชักจูงสมาชิกใหม่ จนทำให้น่าวิตกในแง่คุณภาพ
ในท่ามกลางบรรดาสำนัน้อยใหญ่มากมายนี้ มีหมู่กลุ่มน้อย ๆ อยู่หมู่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเรียกขานตัวเองว่า "ชาวอโศก"
ลักษณะเด่นของชาวอโศกนั้น อยู่ตรงที่มีแนวทางความคิด และการปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนาที่"แยก"ตัวออกมาจากสถาบันสงฆ์ปัจจุบันของไทยอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้แล้วแม้เป็นหมู่กลุ่มที่มีจำนวนบุคลากรน้อย แต่ชาวอโศกก็มีความสามารถในการจัดองค์กรเป็นอย่างสูง
อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเรื่องความถูต้องเที่ยงแท้ และความเคร่งครัด ในความพยายามปฏิบัติธรรม ให้เป็นไปตามแนวทางพุทธศาสนา อย่างที่ควรจะเป็นอีกด้วย ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แม้แต่ในหมู่ฆราวาสก็เช่นกัน
ความเพียรพยายามที่จะเชิดชูปรัชญาชีวิต ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง และในฐานะที่เป็นทางออกทางหนึ่งสำหรับสังคมมนุษย์ยุคปัจจุบัน ของชาวอโศกนี้ มีข้อน่าสังเกตตรงที่ว่า
ชาวอโศกให้ความสำคัญกับความเป็นจริง ของสังคมไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และมิติทางวัฒนธรรม ชาวอโศกแสดงตนเด่นชัดว่า ต้องการจะอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่มาแต่โบราณ ที่เห็นว่ายังมีคุณค่าสมสมัยให้คงคืนความหมาย สำหรับชนชาวไทยในยุคนี้อีกครั้งหนึ่ง
อาจเป็นไปได้ว่า ความเอาใจใส่ต่อวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมทางจิตใจของชนชาวไทย ที่มีควาผูกพันมาช้านานกับพุทธศาสนา ของชาวอโศก ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ตามแบบวัตถุนิยมอย่างตะวันตกนี้ ได้คลี่คลายขยายตัวออกมา ในรูปรอยที่ยังผลให้กิจกรรมของชาวอโศก ค่อย ๆ เป็นที่รับรู้ของชาวโลกมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทความเป็นผู้นำในการรณรงค์ด้านต่าง ๆ และในฐานะขบวนการทางศาสนาขบวนการหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวให้ยืดหยุ่น เป็นขบวนการทางสังคมได้อย่างมีพลังพอสมควร
โดยสรุปแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เป้นส่วนที่เป็นขบวนการทางศาสนานั้น นับได้ว่าชาวอโศกประสบกับความสำเร็จ ในการประคอง และสร้างความมั่นคง ในการมีบทบาทอยู่ในโบกปัจจุบันได้อย่างดีระดับหนึ่ง ซึ่งก็มีผลในทางเสริมหนุนบทบาท ในด้านสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขาอยู่ไม่น้อย และโดยเหตุที่ชาวอโศกถือเป็นหลักการพื้นฐานของพวกเขาว่า ศาสนาและสังคม เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ทีสิ่งซึ่งเกิดขึ้นควบคู่กันไปกับความพยายามฟื้นฟูศาสนา (อันได้แก่การปฏิรูปบุคคลากรทางศาสนาหรือการก่อกำเนิดของนักขวชแบบชาวอโศก) จึงได้แก่ ความพยายามที่จะฟื้นฟูสังคม และวัฒนธรรม โดยผ่านการปฏิรูปบุคคลากรในสังคม นอกจากนักบวช ขึ้นมาเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลกโดยทั่วไปในวงกว้างอีกด้วย
โดยภาพรวมแล้ว ขบวนการของชาวอโศกจึงค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว ก็เท่ากับเป็นความพยายามที่จะปฏิรูปบุคลากรส่วนที่เหลือ ของพุทธศาสนาทั้งหมด อันได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ให้แก่พระศาสนาและสังคมไปพร้อม ๆ กัน
แต่สิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะ และเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในขั้นตอนของกระบวนการหฏิรูปศาสนาและสังคมดังกล่าว ก็คือ ความพยายามที่จะสร้าง"พุทธยูโทเปีย"ของชาวอโศก อันสอดคล้องกับหลักธรรมในพุทธศาสนา ขึ้นเป้ฯครั้งแรกในสังคมไทย โดยอาศัยหลักการทางสังคม ที่มีอยู่ในพระศาสนา เป็นแกนสำคัญของวัฒนธรรมในสังคมใหม่นี้
และไม่ว่าความพยายามเช่นว่านี้ จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนแต่อย่างน้อยที่สุด ก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เราได้เห็นถึงความต้องการ หรือความใฝ่ฝันถึงสังคมที่ดี ที่ชาวไทยพุทธกลุ่มหนึ่งมีอยู่ควบคู่กันไปกับความรู้สึกที่มีต่อปัญหาของสังคมไทย จากแง่มุมของพุทธศาสนิกชนอีกด้วย
นอกจากนั้น เรายังจะได้สังเกตปฏิกิริยาของทางฝ่ายบ้านเมือง และสาธารณชนโดยทั่วไป ที่มีต่อความพยายาม ที่จะจัดตั้งชุมชนพุทธยูโทเปียอย่างจริงจังขึ้นเป็นครั้งแรก เช่นกัน
เพราะในสังคมไทยนั้น ปฏิกิริยาจากทางบ้านเมือง ตลอดจนการโต้ตอบ หรือการหาทางออก ของหมู่กลุ่มชาวพุทธ ผู้พยายามริเริ่มสร้างพุทธยูโทเปียดังกล่าว ย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ต่อสังคมไทยบ้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อแนวคิดของชาวพุทธโดยส่วนรวม
และยังจะเป็นข้อพึงสังวรอย่างสำคัญ สำหรับทั้งทางฝ่ายบ้านเมือง และฝ่ายผู้มีส่วนร่วมในขบวนการสร้างสรรค์ชุมชนพุทธยูโทเปีย ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตอย่างแน่นอน
--------------------------------------*
หน้า ๒๔
วัตถุประสงค์
โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะศึกษากำเนิด วิวัฒนาการ ระเบียบปฏิบัติ ตลิดจนการประเมินผลความสำเค็จ และความล้มเหลวงของ "โครงการปฐมอโศก" ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นผลพวงขั้นสูงสุด ของความเจริญเติบโต ของหมู่กลุ่มชาวอโศก ซึ่งมีพระโพธรักษ์ เป็นผู้นำสำคัญตลิดมา นับตั้งแต่ได้มีการก่อเกิดเป็นหมู่กลุ่ม จนปัจจุบัน
โดยในที่นี้ จะถือว่า โครงการปฐมอโศกเป็นเสมือน พุทธยูโทเปีย
ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า ได่ ความพยายามที่จะนำเอาแนวความคิด ที่มีอยู่แล้วในคำสั่งสอนของพุทธศาสนา มารังสรรค์ขึ้น เป้นชุมชนตามอุดมคติ อย่างจริงจังในสังคมไทยปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่า โครงการปฐมอโศกนี้เป็นผลของความพยายาม ที่จะพัฒนาคำเทศน์อบรมธรรม ที่ได้กระทำกันอยู่ในหมู่กลุ่มชาวอโศกเอง ให้เป็นรูปธรรมขึ้น นับตั้งแต่การถือศีล ปฏิบัติธรรม มาจนถึงจั้นที่คิดสร้างสภาวะแวดล้อมทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ให้เป็นชุมชน หรือสังคมของชาวพุทธ ที่ปรารถนาจะดำรงวิถึชีวิตร่วมกัน อย่างชาวพุทธที่แท้จริง
---------------------------*
หน้า ๒๔
วิธีการศึกษา
วิธีการศึกษาในช่วงแรก ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการนำเอาหลักธรรมคำสอน หรือแนวปรัชญาของชาวอโศก มาปฏิบัติรังสรรค์ขึ้น เป้นชุมชนหรือสังคมของพวกเขาเอง จนเป็นโครงการปฐมอโศก
จะประกอบด้วยการสืบสาวค้นคว้า จากบรรดาสิ่งพิมพ์หลั้งหลายทั้งปวงของชาวอโศก ซึ่งมีทั้งที่เป็นหนังสือเล่ม และนิตยสารรายเดือน ทั้งที่เป็นเอกสารเผยแพร่กันอยู่ภายในหมู่กลุ่มของพวกเขาเอง และที่เป็นเอกสารเผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอกโดยทั่วไปรวมทั้งศึกษาจากคำบรรยายธรรม ที่ได้มีการเก็บบันทึกไว้ในรูปของเท็ปบันทึกเสียงบางชุด ของพระโพธิรักษ์เป็นหลัก
นอกจากนั้น ก็จะมีการศึกษาโดยการเข้าร่วมคลุกคลีสังเกตการณ์ เพื่อซับซาบจิตตารมณ์ของหมู่กลุ่ม ที่มีอยู่เป็นบรรยากาศทั่วไปของชาวอโศก ที่พุทธสถานสำคัญ ๆ ของพวกเขา ประกอบอย่างเช่นที่ พุทธสถานสันติอโศก อันมีฐานะความสำคัญดุจศูนย์กลางในการดำรงอยู่ และในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของชาวอโศกในปัจจุบัน และเป็นพุทธสถาน ที่อาจถือได้ว่า เป็นดั่งหัวใจในการแสดงออกของความเป็นชาวอโศก ทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรมและสังคมที่เป็นของตัวเอง ในระดับหนึ่งเรื่อยมา จนกระทั่งในปัจจุบัน
ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจโครงการปฐมอโศกได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ก่อนอื่นใดหมด จึงควรที่จะได้ทำการศึกษาความเป็นมาของหมู่มวลชาวอโศก ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตลอดจนหลักธรรมทั้งหลายของชาวอโศก ที่ได้คลี่คลายขยายตัว ทั้งในภาคทฤษฎี และในภาคปฏิบัติ จนกระทั่งจะได้กลายไปเป็นวัฒนธรรมพื้นฐาน ค้ำจุนระบบการดำรงชีวิต ในโครงการปฐมอโศก
และเพื่อที่จะเข้าใจจุดเริ่มต้น ตลอดจนความเป็นมาของหมู่มวลชาวอโศก ได้อย่างแท้จริงนั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้นไปศึกษาหาความเข้าใจในชีวประวัติของ พระโพธิรักษ์ พระผู้นำสำคัญของชาวอโศก ตั้งแต่แรกเริ่มขบวนการชาวอโศก ตราบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ที่อาจกล่าวได้ว่า ท่านได้ประสบความสำเร็จในชีวิตทางธรรมถึงระดับหนึ่ง ลีลาชีวิตของท่านที่ได้ประสบมากับชีวิตจริงของตนเอง เมื่อต้องปะทะสังสรรค์กับสภาวะแวดล้อมแห่งยุคสมัยนั้น ชาวอโศกถือเป็นบทเรียนภาคปฏิบัติในชีวิตจริง ๆ ที่ท่านได้บากบั่นฟันฝ่าผ่านมา ให้คนภายหลังได้เห็นเป็นแบบอย่างทางธรรมและเป็นกำลังใจในการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินชีวิตจริงของมนุษย์ ตามหลักธรรมอันสูงส่งของพุทธศาสนา อยู่ในสังคมโลกปัจจุบัน และแฝงไว้อย่างอุดมด้วยทัศนคติ ในแง่ต่าง ๆ ของท่าน
ที่มีต่อชีวิตมนุษย์ในสังคมยุคปัจจุบัน
------------------------------------*
หน้า ๒๗
ประวัติของพระโพธิรักษ์
จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่ปรากฏว่า ได้มีการตีพิมพ์ชีวิประวัติของพระโพธิรักษ์ ที่เขียนโดยบุคคลภายนอกชิ้นใด ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็ฯงาน"มาตรฐาน" ที่ควรแก่การอ้างอิงได้
-----------------------------------------------------
โดย.. ดร.สมบัติ จันทรวงศ์
พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 10,000 เล่ม, ก.ค.2531
พิมพ์ที่ .. โรงพิมพ์มูลนิธิธรรมสันติ 67/1 ซ.ประสาทสิน
ถ.สุขาภิบาล 1 บางกะปิ กทม. 10240 โทร.02-374-5230 นางกิติยา วีระพันธุ์ ผู้พิมพ์โฆษณา
หน้าที่ ๓
ประวัติผู้เขียน
ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Claremont Mc Kenna College และระดับปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์จาก Claremont Graduate School
ปัจจุบัน(ณ ปี พ.ศ.2531) เป็นรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงานในอดีตมี เช่น ยูโทเปีย(แปลและเขียนคำนำ), ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่(บรรณาธิการ), ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น, ความคิดทางการเมืองและสังคมไทย(ผู้เขียนร่วม), แสตมป์กับสังคม, มหาชนรัฐและประชาธิปไตย, โลกทัศน์ของสุนทรภู่, การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(2528) และ การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง(2529)
หน้าที่ ๕
คำนำ
รายงานการศึกษาเรื่อง ชุมชนปฐมอโศก : การศึกษาพุทธยูโทเปีย(1) นี้ ควรถือเป็นเพียงรายงานเบื้องต้น เพราะเป็นเพียงส่วนแรก ๆ ของการศึกษาทั้งหมด ซึ่งตั้งเป้าไว้ถึง 3 ช่วง ๆ ละประมาณ 12 เดือน
ข้อสรุปใด ๆ ที่ปรากฏในรายงานนี้ แต่ละช่วง จึงยังมีโอกาสที่จะปรับปรุงได้ เมื่อการศึกษา ได้กระทำครบถ้วนตามโครงการ
คือเมื่อผู้ศึกษาได้มีโอกาสพิจารณาวิวัฒนาการของสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่นี้ จากแง่มุมที่กว้างกว่าเดิม
ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ พระโพธิรักษ์ และสมาชิกชาวอโศกทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาเรื่องนี้เป็นอย่างดียิ่ง
และขอขอบคุณ นายวิกิจ สุขสำราญ ผู้ช่วยผู้วิจัย ซึ่งได้ร่วมมือร่วมใจในการศึกษาครั้งนี้มาโดยตลอดตั้งแต่ต้น
สมบัติ จันทรวงศ์ ภาควิชารัฐศาสตร์ศึกษา
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-------------------------------------------------
หน้าที่ ๗
รายงานการศึกษา เรื่อง
โครงการชุมชนปฐมอโศก
การศึกษา
พุทธยูโทเปีย(1)
เสนอต่อ ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิงหาคม 2529
โดย ดร.สมบัติ จันทรวงศ์
-------------------------------------------------
หน้าที่ ๘
ความนำ
โดยทั่วไปแล้ว เป็นที่ยอมรับกันว่า มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมหรือสัตว์การเมือง ซึ่งมักจะหมายถึงว่า มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่า แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก เราจะพบว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีโอกาสที่จะ "เลือก" สังคมที่ตนต้องการใช้ชีวิตอยู่เลย ในทางตรงกันข้าม คนเรามักเป็นสมาชิกของสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือระบบทางสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยกำเนิด
มีปัจเจกชนน้อยรายนัก ที่จะมีโอกาสแม้แต่จะเลือกวิถีชีวิตของตนเองโดยลำพัง ให้แปลกแยกออกไปอย่างแท้จริง จากวิถีชีวิตผู้คนส่วนใหญในสังคมเดิม
อย่างไรก็ตาม นี่มิได้หมายความว่า มนุษย์ไม่ได้พยายามที่จะสร้างสรรค์สังคมของกลุ่มของตนเองโดยเฉพาะขึ้น เป็นสังคมที่สอง
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เต็มไปด้วยเรื่องราวของความพยายามเหล่านี้ แม้แต่กระทั่งในปัจจุบัน
โดยปกติแล้ว ลักษณะเด่นของ "สังคมที่เกิดขึ้นโดยเจตนา"นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสังคมแรกเกิดของมนุษย์แล้ว ได้แก่การที่สมาชิกของสังคมดังกล่าว มีอะไรบางอย่าง ซึ่งยึดถือเป็นของร่วมกันได้ นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือความสัมพันธ์ทางกฏหมายอย่างธรรมดา ๆ เช่นการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่างหรือทุกอย่างร่วมกัน เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว สังคมที่เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของมนุษย์ก็ยังอาจจะเป็นสังคมที่ได้มีการกำหนดเป้าหมาย ตลอดจนวิธีการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว ไว้ล่วงหน้า หรืออาจเป็นสังคมที่มีลักษณะเหมือนกับการทดลอง คือ มิได้มีการกำหนดวิธีการไว้แน่นอนตายตัว หากเป็นสังคมที่อาจมีการปรับเหลี่ยนเป้าหมาย และวิธีการไปได้เรื่อย ๆ (1)
แต่ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด ความพยายามที่จะสร้างสังคมโดยเจตนาของมนุษย์ ย่อมหมายถึงการถอนตัว หรือการแยกตนเองออกจากโครงสร้างของสังคมเดิมในระดับหนึ่ง และกระบวนการเช่นว่านี้ ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการสูญเสียผลประโยชน์หรือสิทธิบางประการ ที่มีอยู่ในสังคมเดิม
จริงอยู่ ผู้ที่เข้าร่วมในกระบวนการ สร้างสังคมโดยเจตนาขึ้นนั้น มักจะมีแรงจูงใจมาจากความไม่พอใจสภาพและความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบัน
แต่กระนั้นก็ดี การผละจากสังคมเดิมไปสร้างสังคมใหม่ ก็มักจะเต็มไปด้วยอุปสรรค ปัญหาและภยันตรายนานาประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่มองจากสายตาของผู้อยู่ในสังคมเดิมแล้วการกระทำดังกล่าว เป็นการแยกไปสู่สังคมที่ใหม่และแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเลิง อย่างน้อยที่สุด ความไม่พึงพอใจและความเป็นปฏิปักษ์กัน มักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเนือง ๆ ระหว่างผู้ยึดมั่นในสังคมแบบเดิม กับผู้ที่พยายามสร้างสังคมโดยเจตนาของตน ขึ้นซ้อนกัน
ผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการสร้างสังคมโดยเจตนาขึ้น นอกเหนือ หรือต่างหากจากสังคมที่มีอยู่ จึงมักจะต้องเป็นผู้ที่มีแรงจูงใจสูงมาก และก็คงจะเป็นด้วยเหตุนี้เองกระมัง ที่เรามักจะพบว่า มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นอยู่ระหว่างชีวิตของสังคมดังกล่าว กับความศรัทธาในศาสนา
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประวัติศาสตร์การแสวงหาสังคมในอุดมคติของมนุษย์นั้น สามารถนับย้อนหลับกลับไปได้เป็นพัน ๆ ปีทั้งนี้ก็เพราะ ไม่ว่ายุคใดสมัยใด มนุษย์ย่อมมีโอกาสที่จะไม่พึงพอใจกับชีวิตในสังคมของตนได้ทั้งนั้น
ในโลกตะวันตก นับตั้งแต่สมัยของพระเยซูคริสต์เป็นต้นมา ตัวอย่างของชุมชนที่สมาชิกใช้ชีวิตร่วมกัน ในลักษณะที่เป็นสังคมโดยเจตนา หรือสังคมทดลองนั้น มีอยู่มากมาย
อันที่จริงแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า อารามของนักบวชและนางชีในสมัยโบราณนั้น ก็คือ ลักษณะหนึ่งของชุมชนเช่นว่า2
ลักษณะเด่นของชุมชน ที่เน้นความเป็นอิสระในการผลิตและการบริโภคร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่เห็นได้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม จนกระทั่งถึงสมัยกลาง แต่การสร้างสรรค์สังคมโดยเจตนาของมนุษย์ ก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแรงจูงใจที่มาจากทางศาสนาเท่านั้น
ในศตวรรษที่ 19 เมื่อผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้ทำให้เกิดความเจริญเติบโตของนคร การพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ การใช้แรงงานเด็ก การว่างงานของผู้ใหญ่ และความยากจนแก่ผู้คนเป็นจำนวนมากนั้น การสร้างสรรค์สังคมโดยเจตนา หรือสังคมทดลองของมนุษย์ เพื่อเอาชนะภาวะอันเกิดจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจอันรุนแรงดังกล่าว ก็ได้เกิดขึ้นตามมาด้วย
โดยสรุปแล้ว ชุมชนเช่นว่านี้ มักจะกำหนดให้มีที่ดิน และที่อยู่อาศัยเป็นของกลางของสมาชิกทุกคน การเป็นเจ้าของปัจจัยขั้นมูลฐานในการดำรงชีวิต ตลอดจนการรับประทานอาหารร่วมกัน การให้การรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า โดยการเน้นการสาธารณสุขแนวป้องกัน การให้สิทธิ์เท่าเทียมกันแก่สตรี การแต่งกายแบบเรียบง่าย การผลิตและจำหน่ายสินค้าในรูปของสหกรณ์ การใช้แรงงานร่วมกัน และอย่างเท่าเทียมกัน การดูแลรักษาเด็กอ่อน และระบบการศึกษาที่ก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงจริยธรรมในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งอาจจะปรากฏออกมาในรูปของการปล่อยอิสระหรือ การจำกัดอย่างเข้มงวดกว่าเดิมก็ได้3
อย่างไรก็ดี ในโลกตะวันตกยุคปัจจุบัน ได้เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่ออกไปยิ่งขึ้น นั่นคือ การที่ผู้คนจำนวนมาก ได้ถอนตัวออกจากสภาพความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างจะหรูหรามั่นคง และฟุ่มเฟือย เพื่อมาสร้างสังคมใหม่ที่มีความไม่แน่นอน ความยากลำบากและความแร้นแค้นแทน
อะไรคือสาเหตุของปรากฏการณ์ที่ว่านี้?
คำตอบส่วนหนึ่ง น่าจะอยู่ที่ความล้มเหลวของการสนองตอบ ต่อความต้องการทางจิตใจของมนุษย์ จากสังคมปัจจุบัน
กล่าวคือ สถาบันหลักต่าง ๆ ในสังคม ในรูปอย่างที่เป็นอยู่นี้ ไม่สามารถทำให้ผู้คนที่มีชีวิตทางวัตคถุอย่างอุดมสมบูรณ์ รู้สึกพึงพอใจในทางจิตใจได้
สังคมที่มั่งคั่ง เช่นในสหรัฐอเมริกา แม้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกโดยเฉลี่ย มีโอกาสสะสมข้าวของ เป็นการส่วนตัวอย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันผู้คนเหล่านี้ กลับรู้สึกเหงาเปล่าเปลี่ยวและเดียวดาย ท่ามกลางชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างแดอัด พวกเขาเหล่านี้พยายามจะ"หนี"จากแรงบีบคั้น และความกดดันของชีวิตภายในสังคมสมัยใหม่
ส่งที่พวกเขาแสวงหา คือสิ่งที่จะให้คำตอบ ไม่เฉพาะแต่ในแง่ของความต้องการทาง"สังคม" หากหมายถึงความต้องการทาง"จิตใจ"ของแต่ละคนอีกด้วย
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนเหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะเป็นการฝักใฝ่ทางการเมือง แบบประสงค์ต่ออำนาจทางการเมือง หากพยายามหลีกจากการเมือง และพยายามสร้างวิถึชีวิตทางสังคมของตนขึ้นใหม่ ร่วมกับคนอื่น ๆ ที่มีความคิดความอ่านอย่างเดียวกัน
แบบแผนของชุมชนที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ มีอยู่มากมาย และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นการไม่ง่ายเลย ที่จะแบ่งจำพวกของชุมชนออกมา
เช่น บางชุมชนยึดหลักการทางศาสนาเป็นหลักในการดำรงชีวิต บ้างก็ยึดตามอุดมการณ์ทางโลก บ้างก็รวมตัวกันเพื่อให้บริการแก่สังคม และบ้างก็เป็นชุมชนของคนเฉพาะรุ่นเฉพาะวัย4
แต่ในบรรดาชุมชนแบบนี้ ที่มีอายุยืนยาวที่สุดก็คือ ชุมชนที่มีเหตุผลทางศาสนาเป็นแรงผลักดัน
อันที่จริงแล้ว การที่สังคมโดยเจตนาที่ถือกำเนิดมาจากความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมักจะเป็นสังคมเกษตรกรรมและสังคมชนบทจะมีอายุยืนยาวกว่าสังคมโดยเจตนา ที่ถือกำเนิดมาจากเหตุผลอื่น ๆ นั้น เป็นเรื่องที่อธิบายได้ไม่ยากนัก
เรื่องราวของชุมชนโดยเจตนา ในระยะแรกเริ่มสุด มักเต็มได้ด้วยเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ที่ต้องใช้วิธีการสร้างสังคมของตนเองขึ้น เพื่อรักษาความหลอดภัยและความเป็นอยู่รอดของตนเอง ให้พ้นจากการคุกคามของคนส่วนใหญ่ ที่ถือศาสนาต่างกันออกไป
และในขณะที่สังคมโดยเจตนา ที่ถือกำเนิดมาโดย เหตุผลอื่น ๆ มักจะไม่สามารถต้านทานแรงกดดันจากสังคมเดิมได้ดีพอ เช่นสมาชิกมักจะไม่มีศรัทธาแรงกล้าพอ ที่จะต้านทานกับความรู้สึกโดดเดี่ยว การถูกตัดขาดจากกระแสของสังคมใหญ่ได้
สมาชิกของชุมชนที่มีแรงผลักดันทางศาสนา ก็มักจะกระทำได้ดีกว่า แม้แต่ในสังคมไทย คำว่า "โลกพระศรีอาริย์" ซึ่งดูเหมือนว่าจะใช้แทนคำว่า "สังคมยูโทเปีย" หรือสังคมในอุดมคติแยกออกไปจากสังคมปัจจุบัน ได้ดีที่สุด ก็เป็นคำที่มีที่มาจากเรื่องราวทางศาสนาเหมือนกัน
โดยทั่วไปแล้ว สำหรับแนวคิดเรื่องพระศรีอาริย์นั้น เราอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เป็นความเชื่อในวงการพุทธศาสนา ที่เล่าอ้างสืบต่อกันมาว่า เป็นพุทธวจนะ
มีความว่า เมื่อพุทธศาสนามีอายุยืนยาวครบ 5,000 ปีแล้วก็จะสิ้นไป หลังจากนั้นก็จะเป็นยุคสมัยอีกยุคสมัยหนึ่งต่างหากของพระศรีอาริย์ ยุคนี้เป็นยุคที่สังคมมนุษยโลก ได้ดำเนินผ่านช่วงที่มนุษย์ฆ่าฟันกันง่าย ๆ อย่างผักปลา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ยุคมิคสัญญีอันตกต่ำถึงที่สุดแล้วนั้น เข้าสู่ยุคที่สังคมมนุษย์โลกจะอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็ฯสุข ผู้คนในสมัยนั้นจะมีศีลมีธรรมสูง อันเป็นเงื่อนไขให้ไม่เกิดมีการเบียดเบียนกดขี่ข่มเหง ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ปราศจากโจรผู้ร้ายที่จะประทุษร้ายต่อร่างกายชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนก็มิได้ละโมบโลภในสมบัติทางโลกเหมือนอย่างที่แล้ว ๆ มา หากแต่จะมักน้อยสันโดษ และจะปรารถนาเฉพาะอาหารและน้ำดื่มสำหรับในยามหิวและยามกระหายเท่านั้น นอกจากนี้ตัวมนุษย์เองก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้คนมีชีวิตที่ดีที่สมใจกันทั่วหน้า
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า แท้ที่จริงแล้ว พุทธศาสนาฝ่ายเถวรวาทอย่างที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้น ย้ำเน้นคติ"อรหันต์"อันเป็นเรื่องของการพัฒนาตนเอง ไปสู่การมีชีวิตที่ดี และความเป็นบุคคลประเสริฐ ซึ่งทำให้ความคิดความเข้าใจเรื่อง"ผู้มาโปรด" แทบจะไม่มีความหมายสำคัญอะไรเลยต่อการพัฒนาดังกล่าว ตนเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของตนเอง การแก้ปัญหาของมนุษย์ต้องเริ่มที่ตนเอง และจะต้องบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้ที่ตนเอง
ลักษณะเช่นว่านี้ จึงแทบจะไม่เปิดช่องให้กับความคิดใฝ่ฝันเรื่อง"พระศรีอาริยเมตไตรย์" หรือพระผู้มาโปรดเลย
พุทธศาสนาฝ่ายมหายานต่างหาก ที่มีคติเรื่อง"พระโพธิสัตว์"อย่างเด่นชัด และพระศรีอาริยเมตไตรย์ ก็คือ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งของทางฝ่ายมหายาน ที่จะมาโปรดมวลมนุษย์จำนวนมาก ๆ นั่นเอง
กระนั้นก็ดี ก็ปรากฏว่า คติเรื่องพระมาลัย ซึ่งโยงถึงเรื่องการมาของพระศรีอาริย์ กลับเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายอยู่ในแทบจะทุกภาคของประเทศไทย โดยมีการเล่าลือสืบต่อกันมาว่า พระมาลัยเถระได้ขึ้นไปเฝ้าพระโพธสัตว์ศรีอารยเมตไตรย์ ที่พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพระศรีอารยเมตไตรย์ได้ตรัสไว้กับพระมาลัยเถระว่า พระองค์จะจุติมาโปรดมนุษย์และสัตว์ในอนาคตกาล ภายหลังจากที่พุทธศาสนาสิ้นสูญไปแล้ว
เรื่องของพระมาลัยจึงเป็นคติที่เข้ามามีส่วนเชื่อมผสาน ส่วนขาดส่วนเกิน ของฝ่ายเถรวาท และมหายาน ดังกล่าวมาแล้วนี้
ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏมีเรื่องของพระมาลับ ในพระสูตรดั้งเดิมของพระพุทธสาสนาแต่อย่างใด
ในประวัติศาสตร์ไทย ก็มีกรณีอยู่เหมือนกัน ที่ผู้นำท้องถิ่นหรือผู้ใต้ปกครอง ได้อาศัยแนวความคิดของคติเหล่านี้ เป็นข้ออ้างควบคู่กันไป กับปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ และปลุกระดมความกล้าหาญ ในการรวบรวมพลังพล เข้าต่อต้านอำนาจรัฐส่วนกลาง แต่ขบวนการดังกล่าวก็มักอ้างเหตุอำเพศ มาล้มล้างความชอบธรรมของฝ่ายปกครอง โดยที่ไม่ปรากฏเลยว่า ได้มีการวางแผนการอะไรที่ชัดเจน เกี่ยวกับรูปแบบของสังคมในอุดมคติ ที่จะเกิดขึ้นใหม่ในวันข้างหน้าเลย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้นำท้องถิ่นพวกนี้มักฝากความหวังในผลสำเร็จไว้กับอำนาจเร้นลับ
ในเรื่องนี้ จึงอาจเป็นไปได้ว่า ผู้คนทั่วไปอาจจะไม่เคยคิดเลยว่า ความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ในอำนาจการควบคุมของมนุษย์ได้
ส่วนตัวผู้นำนั้น แม้อาจจะคิดในทางตรงกันข้ามกับคนทั่วไปว่า เรื่องเหล่านี้ อยู่ในอำนาจการควบคุมของมนุษย์ได้ (ถ้าสามารถควบคุมมนุษย์ในสังคมได้) แต่ก็คงจะตระหนักดีว่า การควบคุมมนุษย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปได้ง่ายดาย จึงแบ่งความรับผิดชอบในผลสำเร็จส่วนหนึ่งไว้กับการหวังวิงวอน ตามความเข้าใจของชาวบ้านทั่วไป
ตัวอย่างของขบวนการทำนองดังกล่าวมานี้ ในประวัติศาสตร์ไทยได้แก่ กบฏญาณพิเชียร์ (พ.ศ.2124) กบฏธรรมเถียร (พ.ศ.2237) กบฏบุญกว้าง (พ.ศ.2241) กบฏผู้มีบุญหนองหมากแก้ว(พ.ศ.2467)ซึ่งล้วนแต่เป็นขบวนการที่ถูกฝ่ายปกครองส่วนกลางประนามว่า"กบฏ"ทั้งสิ้น
สาเหตุส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะว่า การพยายามสร้าง หรือแม้แต่การคิดถึง "สังคมที่ดีกว่า"ย่อมหมายถึงความไม่พึงพอใจต่อผู้ปกครอง ระบบเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของตนอย่างที่เป็นอยู่ และถ้ายิ่งขบวนการนั้น ๆ อิงอาศัยคติ เรื่องพระศรีอาริยเมตไตรย์อยู่ด้วยแล้ว ก็อาจหมายความ รวมไปถึงความไม่พอใจต่อวิถีของพุทธศาสนา อย่างที่เป็นอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าฝ่ายผู้ปกครองอาจจะอ้างพุทธทำนายได้เช่นกันด้วยว่า ยังไม่ถึงเวลาครอบ 5,000 ปี ที่จะถึงยุคการเปลี่ยนแปลง และสภาพความเป็นไปในสังคม ก็ยังมิได้เลวร้ายถึงขนาด ตามที่ได้มีพุทธทำนายไว้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบันนี้ ตราบเท่าที่ฝ่ายปกครองของศาสนจักร และอำนาจทางการเมืองแอบอิงกันอยู่ ก็ยังอาจเป็นไปได้เสมอว่า ความพยายามที่จะสร้างสรรค์สังคมพุทธยูโทเปียใด ๆ ขึ้น ก็อาจถูกมองว่า แฝงนัยแห่งการไม่เห็นด้วยกับระบบเศรษฐกิจสังคม และแนวคิดในทางศาสนาโดยทั่ว ๆ ไปของชนส่วนใหญ่ของสังคม อยู่นั่นเอง
ทั้งนี้ไม่ว่าความพยายามดังกล่าว จะมีรากฐานอยู่บนคำสอนที่แท้ของศาสนา และอาจจะไม่ใช่ภัยที่แท้จริงหรือจริง ๆ แล้วอาจเป็นคุณอนันต์ก็ตาม
นั่นคือ ขบวนการดังกล่าว ย่อมจะมีโอกาสถูกพิจารณาได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อตัวสถาบันศาสนา อันมีฐานะถูกต้องตามกฏหมายบ้านเมือง และต่อประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะติดตามดูว่า อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากสังคมยูโทเปียเช่นว่า ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนลอย ๆ อย่างขบวนการ "กบฏ"ทั้งหลายในอดีต แต่จะพัฒนาขึ้นหลังจากที่ได้มีการแตกแยก หรือเกิดมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน ของสำนักทางความคิด และการปฏิบัติธรรมในวงการศาสนา
สำหรับสังคมไทยปัจจุบัน สิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้เลย ก็คือความจริงที่ว่า วงการพุทธศาสนาตกอยู่ในสภาพระส่ำระสายปั่นป่วนไม่น้อย สิ่งที่สะท้อนให้เห็นลักษณะดังกล่าวอยู่อย่างชัดแจ้งก็คือ สภาพการนับถือศาสนาของผู้ที่อ้างตนเป็นพุทธศาสนิกชนหรือพุทธบริษัท ที่ดูเหมือนว่า ยิ่งวันก็มีแต่จะห่างไกลจากพุทธธรรมยิ่งขึ้น
ข่าวคราวต่าง ๆ ที่ปรากฏในสื่อมวลชนล้วนสะท้อนถึงภาว่าเช่นว่า ที่เสื่อมทราม จนแม้กระทั่งการมีศรัทธาในสิ่งที่เคยถือกันว่า เป็นสิ่งต่ำช้า ตามทัศนะของพุทธธรรม จนแทบจะบอกไม่ได้แล้วว่า แท้ที่จริงนั้น คนที่นับได้ว่า เป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้นั้นควรมีศรัทธาไปในลักษณะใดกันแน่ ?
สภาพการณ์ดังกล่าวเหล่านี้เอง ที่เป็นช่องทางก่อให้เกิดมี"สำนัก"ต่าง ๆ มากมาย ที่ตั้งกันขึ้นมาแอบอิงแอบอ้าง"พุทธศาสนา"บังหน้า เพื่อเรียกศรัทธาของบุคคลในสังคม ในแง่มุมและระดับต่าง ๆ กัน
นับตั้งแต่สำนักที่แทบจะไม่มีอะไรเลย ที่พอจะถือได้ว่า เป็น"ธาตุแท้"ของพุทธศาสนา ไปจนกระทั่ง สำนักที่มีลักษณะ"พุทธ"เอามาก ๆ และแต่ละสำนักก็มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธามากบ้างน้อยบ้างผิดกันไป ทั้งนี้ก็ตามแต่สำนักใด จะสอดคล้องต้องตามอุปาทานของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม ได้มากน้อยเพียงใด บางแห่งก็มีผู้คนสนใจ ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก และก็ถือเอาปริมาณมาก ๆ นี้ เป็นส่งชักจูงสมาชิกใหม่ จนทำให้น่าวิตกในแง่คุณภาพ
ในท่ามกลางบรรดาสำนัน้อยใหญ่มากมายนี้ มีหมู่กลุ่มน้อย ๆ อยู่หมู่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเรียกขานตัวเองว่า "ชาวอโศก"
ลักษณะเด่นของชาวอโศกนั้น อยู่ตรงที่มีแนวทางความคิด และการปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนาที่"แยก"ตัวออกมาจากสถาบันสงฆ์ปัจจุบันของไทยอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้แล้วแม้เป็นหมู่กลุ่มที่มีจำนวนบุคลากรน้อย แต่ชาวอโศกก็มีความสามารถในการจัดองค์กรเป็นอย่างสูง
อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเรื่องความถูต้องเที่ยงแท้ และความเคร่งครัด ในความพยายามปฏิบัติธรรม ให้เป็นไปตามแนวทางพุทธศาสนา อย่างที่ควรจะเป็นอีกด้วย ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แม้แต่ในหมู่ฆราวาสก็เช่นกัน
ความเพียรพยายามที่จะเชิดชูปรัชญาชีวิต ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง และในฐานะที่เป็นทางออกทางหนึ่งสำหรับสังคมมนุษย์ยุคปัจจุบัน ของชาวอโศกนี้ มีข้อน่าสังเกตตรงที่ว่า
ชาวอโศกให้ความสำคัญกับความเป็นจริง ของสังคมไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และมิติทางวัฒนธรรม ชาวอโศกแสดงตนเด่นชัดว่า ต้องการจะอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่มาแต่โบราณ ที่เห็นว่ายังมีคุณค่าสมสมัยให้คงคืนความหมาย สำหรับชนชาวไทยในยุคนี้อีกครั้งหนึ่ง
อาจเป็นไปได้ว่า ความเอาใจใส่ต่อวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมทางจิตใจของชนชาวไทย ที่มีควาผูกพันมาช้านานกับพุทธศาสนา ของชาวอโศก ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ตามแบบวัตถุนิยมอย่างตะวันตกนี้ ได้คลี่คลายขยายตัวออกมา ในรูปรอยที่ยังผลให้กิจกรรมของชาวอโศก ค่อย ๆ เป็นที่รับรู้ของชาวโลกมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทความเป็นผู้นำในการรณรงค์ด้านต่าง ๆ และในฐานะขบวนการทางศาสนาขบวนการหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวให้ยืดหยุ่น เป็นขบวนการทางสังคมได้อย่างมีพลังพอสมควร
โดยสรุปแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เป้นส่วนที่เป็นขบวนการทางศาสนานั้น นับได้ว่าชาวอโศกประสบกับความสำเร็จ ในการประคอง และสร้างความมั่นคง ในการมีบทบาทอยู่ในโบกปัจจุบันได้อย่างดีระดับหนึ่ง ซึ่งก็มีผลในทางเสริมหนุนบทบาท ในด้านสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขาอยู่ไม่น้อย และโดยเหตุที่ชาวอโศกถือเป็นหลักการพื้นฐานของพวกเขาว่า ศาสนาและสังคม เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ทีสิ่งซึ่งเกิดขึ้นควบคู่กันไปกับความพยายามฟื้นฟูศาสนา (อันได้แก่การปฏิรูปบุคคลากรทางศาสนาหรือการก่อกำเนิดของนักขวชแบบชาวอโศก) จึงได้แก่ ความพยายามที่จะฟื้นฟูสังคม และวัฒนธรรม โดยผ่านการปฏิรูปบุคคลากรในสังคม นอกจากนักบวช ขึ้นมาเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลกโดยทั่วไปในวงกว้างอีกด้วย
โดยภาพรวมแล้ว ขบวนการของชาวอโศกจึงค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว ก็เท่ากับเป็นความพยายามที่จะปฏิรูปบุคลากรส่วนที่เหลือ ของพุทธศาสนาทั้งหมด อันได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ให้แก่พระศาสนาและสังคมไปพร้อม ๆ กัน
แต่สิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะ และเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในขั้นตอนของกระบวนการหฏิรูปศาสนาและสังคมดังกล่าว ก็คือ ความพยายามที่จะสร้าง"พุทธยูโทเปีย"ของชาวอโศก อันสอดคล้องกับหลักธรรมในพุทธศาสนา ขึ้นเป้ฯครั้งแรกในสังคมไทย โดยอาศัยหลักการทางสังคม ที่มีอยู่ในพระศาสนา เป็นแกนสำคัญของวัฒนธรรมในสังคมใหม่นี้
และไม่ว่าความพยายามเช่นว่านี้ จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนแต่อย่างน้อยที่สุด ก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เราได้เห็นถึงความต้องการ หรือความใฝ่ฝันถึงสังคมที่ดี ที่ชาวไทยพุทธกลุ่มหนึ่งมีอยู่ควบคู่กันไปกับความรู้สึกที่มีต่อปัญหาของสังคมไทย จากแง่มุมของพุทธศาสนิกชนอีกด้วย
นอกจากนั้น เรายังจะได้สังเกตปฏิกิริยาของทางฝ่ายบ้านเมือง และสาธารณชนโดยทั่วไป ที่มีต่อความพยายาม ที่จะจัดตั้งชุมชนพุทธยูโทเปียอย่างจริงจังขึ้นเป็นครั้งแรก เช่นกัน
เพราะในสังคมไทยนั้น ปฏิกิริยาจากทางบ้านเมือง ตลอดจนการโต้ตอบ หรือการหาทางออก ของหมู่กลุ่มชาวพุทธ ผู้พยายามริเริ่มสร้างพุทธยูโทเปียดังกล่าว ย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ต่อสังคมไทยบ้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อแนวคิดของชาวพุทธโดยส่วนรวม
และยังจะเป็นข้อพึงสังวรอย่างสำคัญ สำหรับทั้งทางฝ่ายบ้านเมือง และฝ่ายผู้มีส่วนร่วมในขบวนการสร้างสรรค์ชุมชนพุทธยูโทเปีย ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตอย่างแน่นอน
--------------------------------------*
หน้า ๒๔
วัตถุประสงค์
โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะศึกษากำเนิด วิวัฒนาการ ระเบียบปฏิบัติ ตลิดจนการประเมินผลความสำเค็จ และความล้มเหลวงของ "โครงการปฐมอโศก" ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นผลพวงขั้นสูงสุด ของความเจริญเติบโต ของหมู่กลุ่มชาวอโศก ซึ่งมีพระโพธรักษ์ เป็นผู้นำสำคัญตลิดมา นับตั้งแต่ได้มีการก่อเกิดเป็นหมู่กลุ่ม จนปัจจุบัน
โดยในที่นี้ จะถือว่า โครงการปฐมอโศกเป็นเสมือน พุทธยูโทเปีย
ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า ได่ ความพยายามที่จะนำเอาแนวความคิด ที่มีอยู่แล้วในคำสั่งสอนของพุทธศาสนา มารังสรรค์ขึ้น เป้นชุมชนตามอุดมคติ อย่างจริงจังในสังคมไทยปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่า โครงการปฐมอโศกนี้เป็นผลของความพยายาม ที่จะพัฒนาคำเทศน์อบรมธรรม ที่ได้กระทำกันอยู่ในหมู่กลุ่มชาวอโศกเอง ให้เป็นรูปธรรมขึ้น นับตั้งแต่การถือศีล ปฏิบัติธรรม มาจนถึงจั้นที่คิดสร้างสภาวะแวดล้อมทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ให้เป็นชุมชน หรือสังคมของชาวพุทธ ที่ปรารถนาจะดำรงวิถึชีวิตร่วมกัน อย่างชาวพุทธที่แท้จริง
---------------------------*
หน้า ๒๔
วิธีการศึกษา
วิธีการศึกษาในช่วงแรก ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการนำเอาหลักธรรมคำสอน หรือแนวปรัชญาของชาวอโศก มาปฏิบัติรังสรรค์ขึ้น เป้นชุมชนหรือสังคมของพวกเขาเอง จนเป็นโครงการปฐมอโศก
จะประกอบด้วยการสืบสาวค้นคว้า จากบรรดาสิ่งพิมพ์หลั้งหลายทั้งปวงของชาวอโศก ซึ่งมีทั้งที่เป็นหนังสือเล่ม และนิตยสารรายเดือน ทั้งที่เป็นเอกสารเผยแพร่กันอยู่ภายในหมู่กลุ่มของพวกเขาเอง และที่เป็นเอกสารเผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอกโดยทั่วไปรวมทั้งศึกษาจากคำบรรยายธรรม ที่ได้มีการเก็บบันทึกไว้ในรูปของเท็ปบันทึกเสียงบางชุด ของพระโพธิรักษ์เป็นหลัก
นอกจากนั้น ก็จะมีการศึกษาโดยการเข้าร่วมคลุกคลีสังเกตการณ์ เพื่อซับซาบจิตตารมณ์ของหมู่กลุ่ม ที่มีอยู่เป็นบรรยากาศทั่วไปของชาวอโศก ที่พุทธสถานสำคัญ ๆ ของพวกเขา ประกอบอย่างเช่นที่ พุทธสถานสันติอโศก อันมีฐานะความสำคัญดุจศูนย์กลางในการดำรงอยู่ และในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของชาวอโศกในปัจจุบัน และเป็นพุทธสถาน ที่อาจถือได้ว่า เป็นดั่งหัวใจในการแสดงออกของความเป็นชาวอโศก ทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรมและสังคมที่เป็นของตัวเอง ในระดับหนึ่งเรื่อยมา จนกระทั่งในปัจจุบัน
ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจโครงการปฐมอโศกได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ก่อนอื่นใดหมด จึงควรที่จะได้ทำการศึกษาความเป็นมาของหมู่มวลชาวอโศก ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตลอดจนหลักธรรมทั้งหลายของชาวอโศก ที่ได้คลี่คลายขยายตัว ทั้งในภาคทฤษฎี และในภาคปฏิบัติ จนกระทั่งจะได้กลายไปเป็นวัฒนธรรมพื้นฐาน ค้ำจุนระบบการดำรงชีวิต ในโครงการปฐมอโศก
และเพื่อที่จะเข้าใจจุดเริ่มต้น ตลอดจนความเป็นมาของหมู่มวลชาวอโศก ได้อย่างแท้จริงนั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้นไปศึกษาหาความเข้าใจในชีวประวัติของ พระโพธิรักษ์ พระผู้นำสำคัญของชาวอโศก ตั้งแต่แรกเริ่มขบวนการชาวอโศก ตราบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ที่อาจกล่าวได้ว่า ท่านได้ประสบความสำเร็จในชีวิตทางธรรมถึงระดับหนึ่ง ลีลาชีวิตของท่านที่ได้ประสบมากับชีวิตจริงของตนเอง เมื่อต้องปะทะสังสรรค์กับสภาวะแวดล้อมแห่งยุคสมัยนั้น ชาวอโศกถือเป็นบทเรียนภาคปฏิบัติในชีวิตจริง ๆ ที่ท่านได้บากบั่นฟันฝ่าผ่านมา ให้คนภายหลังได้เห็นเป็นแบบอย่างทางธรรมและเป็นกำลังใจในการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินชีวิตจริงของมนุษย์ ตามหลักธรรมอันสูงส่งของพุทธศาสนา อยู่ในสังคมโลกปัจจุบัน และแฝงไว้อย่างอุดมด้วยทัศนคติ ในแง่ต่าง ๆ ของท่าน
ที่มีต่อชีวิตมนุษย์ในสังคมยุคปัจจุบัน
------------------------------------*
หน้า ๒๗
ประวัติของพระโพธิรักษ์
จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่ปรากฏว่า ได้มีการตีพิมพ์ชีวิประวัติของพระโพธิรักษ์ ที่เขียนโดยบุคคลภายนอกชิ้นใด ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็ฯงาน"มาตรฐาน" ที่ควรแก่การอ้างอิงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น