24 ต.ค. 2554

-+ พระธรรมนูญของพุทธ +-โดย ธรรมบุตร

... มีญาติโยมเป็นจำนวนมากทีเดียว ได้ปรารภกับข้าพเจ้าว่า เวลาจะทำบุญ ก็ต้องการทำบุญกับพระที่เป็นสุปฏิปันโน คือ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตรงตามพระวินัย ซึ่งเป็นพระสาวกในพุทธศาสนาจริง ๆ



... เพราะทุกวันนี้ ได้ข่าวพระปลอมก็มาก พระบวชจริงแต่ไม่เอาจริงจนเป็น "พระ" พอจะน่าศรัทธาเคารพก็เยอะ โดยบวชเข้ามาแล้ว ก็อาศัยศาสนาเป็นเครื่องมือหากิน คือ บวชด้วยจุดประสงค์หนีงานหนักมาสมัครงานสบายก็มีหรือไม่ก็บวชเข้ามาทำการค้า อาศัยเล่าเรียนเพื่อความอยู่รอดก็มี หรือเพื่อแสวงหาลาภสักการะจากศรัทธาของญาติโยมโดยตรงก็มี จึงเกิดความเกรงว่า จะทำบุญไม่ได้บุญ กลายเป็นทำบุญส่งเสริมช่วยเหลือคนผิดไปเพราะไปถูกคนที่แอบแผงเข้ามาบวชเป็นพระดังนัยที่กล่าวมาคร่าว ๆ ข้างต้นฉะนั้นแทนที่ทำบุญแล้วจะได้บุญก็อาจจะเป็นบาปไป เพราะจะกลายเป็นการเลี้ยงโจรไว้ปล้นทำลายพระศาสนา





... ข้าพเจ้าได้ฟังคำปรารภของญาติโยมเหล่านั้นแล้ว ก็ทำให้รู้สึกอนุโมทนายิ่ง ที่ชาวพุทธบริษัทได้มีความเอาใจใสในพระศาสนา เอาตาดูหูแล ไม่ทอดธุระแบบ ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ อย่างนี้พระศาสนาต้องเจริญแน่ พระสงฆ์จะได้ปรับปรุงตัวดีขึ้นด้วย



...แต่ญาติโยมทั้งหลายเหล่านั้น ก็มิอาจรู้ได้ว่า พระที่เป็น"พระ"ในพุทธศาสนาจริง ๆ นั้น จะมีลักษณะอย่างไร มีหลักประพฤติปฏิบัติอย่างไร ที่พอสังเกตรู้ได้ หรือจะมีอะไรเป็นหลักพิจารณา



... หลักพิจารณาลักษณะพระดีในพุทธศาสนานั้น ก็สังเกตดูได้ไม่ยาก เพราะพระดีมีกัลยาณคุณก็ดี พระอาริยสาวกก็ดี หรือพระภอกษุที่อยู่ในธรรมวินัยของพระพุทธศาสนานี้ตรง ๆ แท้ ๆ ก็คือ ผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยศีล ดังนั้นนอกจากพระวินัย ๒๒๗ ข้อ ที่พระต้องประพฤติให้ดีให้ได้ก่อนแล้ว ก็มีตัว "ศีล"แท้ ๆ เป็นเครื่องวัดในระดับต้น ๆ ง่าย ๆ



... แล้วศีลที่เป็นเครื่องวัดที่ว่านั้น มีอะไรบ้าง ?





..."ศีล" ที่ว่านั้น ก็คือ หลักสำคัญเป็นพระธรรมนูยของพุทธ ได้แก่ จุลศีล-มัชฌิมศีล-มหาศีล




... เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทะเจ้า ได้ตรัสรู้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ท่ามกลางบรรดาผู้รู้ยิ่ง ทั้งที่แก่ ทั้งที่ก่อนพระองค์หลากหลายท่ามกลางบรรดาเจ้าศาสดาต่าง ๆ มากมายในครั้งพุทธกาลนั้น



... พระองค์ก็ทรงประกาศตนอย่างอาจหาญ มิได้หวั่นเกรงว่า จะเป็นการข่มใคร หรือ มิได้สะเทิ้นขวยเขินแม้น้อยนิดว่า ใครใดได้ยินเข้าแล้ว จะหาว่าพระองค์โอ่ตัวอวดตนแต่อย่างไร เพราะพระองค์มีพระทัยอันเป็นสัตย์จริงเพียงพอ



...คำความที่พระองค์ทรงกล้าหาญชาญชัย กล่าวยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างมั่นคง แต่ต้นจนสุดท้ายนั้น ก็คือ



พระองค์เป็นพระตถาคตเสเจอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป้นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป้นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มาโลก พรหมโลก ให้แจ้งขัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนปมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยํญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง



... นั่นหลายความว่า พระองค์จะเป็นเจ้าลัทธิ หรือเป็นศาสดาองค์หนึ่ง ท่ามกลางศาสดาน้อยใหญ่ทั้งหลายทั้งปวง ในขณะนั้นแน่นอน





ซึ่งแน่ละ ในบรรดาลัทธิของศาสดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเหล่านั้น เขาก็ต้องมีปฏิปทา มีศีล มีหลักเกณฑ์สำคัญของเขาตามแต่ละศาสนาและแต่ละลัทธิของเขา บ้างก็มีการกระทำอย่างนี้ บ้างก็ห้ามกระทำอย่างนั้น ตามแต่ลัทธิของศาสดาใดจะเห็นดี เห็นไม่ดีของเขา ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า จะต้องเต็มไปด้วยจารีต แบบแผน การกระทำต่าง ๆ ของแต่ละลัทธิ แต่ละศาสนามีเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันข้าง





และที่สำคัญก็คือจารีต แบบแผน หรือการกระทำที่เลอะ ๆ เทอะ ๆ อันไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ หรือไม่เป็นหลักการที่ดีงาม ตามขอบเขตอันควร แห่งฐานานุฐานะของลัทธิต่าง ๆ จะพึงมีนั้น ก็ต้องมีมากมายหลากหลายแน่นอน





ดังนั้น ด้วยพระปัญญาธิคุณ แห่งความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิศาสนาที่แน่แท้ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่ง จึงต้องประกาศปฏิปทา แจ้งจารีตหลักแบบแผนหลัก หรือศีลหลักแห่งลัทธิศาสนาของพระองค์ท่านให้เป็นที่ประจักษ์ ยืนยันความสำคัญอันเรียกได้ว่า เป็นพระธรรมนูญของศาสนาพุทธ ขึ้นมา





ซึ่งเป็นกฏหลักอันสำคัญ ที่พระบรมศาสดา ได้ทรงประกาศอย่างแจ้งชัดว่า หลักการรากฐานของพระพุทธองค์นั้นเป็นอย่างนี้ ๆ ศีลของพระพุทธองค์ เป็นอย่างนี้ ๆ






เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ใด ได้ยิน ได้ฟัง กฎหลัก หรือ ศีลหลักสำคัญประดามี อันเป็นพระธรรมนูญรากฐานพุทธนี้แล้ว ก็จะนึกเห็นรูปร่างของพระพุทธศาสนาได้ หรือจะนึกเห็นความเป็นจารีตแบบแผน จะเห็นสภาพแห่งความเป็นอยู่เป็นไปของพุทธศาสนาได้ชัดเจนว่า จะอยู่ในรูปในแบบใด




เพราะศีลกฎหลักดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นเครื่องแจ้งจารีตหลักแบบแผนหลัก ซึ่งพระสาวกก็จะประพฤติอยู่ตามศีล ไม่ละเมิดหรือ ไม่มี ไม่เป้นในเรื่องในสิ่งที่ตรัสให้ละเว้นนั้น ๆ แน่ พระสงจะมีปฏิปทาหลักตาม จุลศีล-มัชฌิมศีล-มหาศีล ของพุทธศาสนาแท้ ๆ จริง ๆ




แม้ในสมัยพุทธกาลโน้น ก็ได้เกิดความแตกต่างเป็นความแผกแยก อันไม่เหมือนจารีตลัทธิอื่น ที่เขาเป็น เขามีอยู่เก่าก่อนมาแล้วแน่ ๆ เช่น บางลัทธิ นักบวชของเขาเก็บผลหมากรากไม้จากต้น มาใช้ มากินเองอยู่ ก็ต้องมีแน่ ๆ พระพุทธองค์ จึงทรงบัญญัติว่า นักบวชในศาสนาของพระองค์ให้เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม




นักบวชลัทธิอื่นบางลัทธิ เขากินหลายหน ฉันหลายหนก็ต้องมีแน่ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศจารีตหลักแก่นักบวชในศาสนาของพระองค์ ให้ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล



นักบวชลัทธิอื่นบางลัทธิ เขารับทองและเงินอยู่ ก็ต้องมีแน่ พระพุทธองค์จึงทรงตราพระธรรมนูญ กำกับศาสนาของพระองค์ว่า นักบวชในศาสนาพุทธ ให้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน


หรือ ในลัทธิบางลัทธิ นักบวชของเขาคงจะมีการรับ แพะ แกะ ไก่ สุกร โค ม้า ไร่นา ที่ดิน ก็คงจะทำกันอยู่


แม้แต่นักบวชของเขาอื่น จะซื้อก็ได้ จะขายก็ทำทั้งนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น